วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ตุ๊กแก ‘สลัดหาง’ ใครว่าไม่เหนื่อย
ตุ๊กแกลัดหางเพื่อล่าเหยื่อให้ละความสนใจจากมัน แต่ใครจะรู้ว่าการสลัดหางตนเองทิ้งนั้นตุ๊กแกต้องใส่แรงเข้าไปขนาดไหน ผลการศึกษานี้รายงานในวารสาร Phyological and Zoology ดร. Trish Fleming ผู้ร่วมศึกษา จากวิทยาลัยเเพทยศาสตร์และชีววิทยาการแพทย์ มหาวิทยาลัย Murdoch กล่าวว่า cuadal autonomy หรือความสามารถในการสลัดหางของตนเองเมื่อโดนจู่โจมเป็นกลไกการหลบหนีของผู้ล่าของสิ่งมีชีวิตในตระกูลจิ้งจกจำนวน 13 ชนิด จาก 20 ชนิด เมือหางหลุดไปผู้ล่าจะละความสนใจจากตุ๊กแก แล้วหันไปสนใจหางของมันแทน หางของตุ๊กแกจะเคลื่อนที่สะเปะสะปะ และขณะที่ผู้ล่ากำลังสนใจกับส่วนหาง ตุ๊กแกก็จะสามารถหลบหนีได้อย่างง่ายดาย
Flemisg และคณะร่วมกันศึกษาตุ๊กแกแคระจากแอฟริกาใต้สายพันธุ์ Lygodactylus capensis พบว่าเมื่อมันปล่อยหางไปแล้วจะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น เนื่องจากแรงเสียดทานที่พื้นและน้ำหนักตัวของมันลดลง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าประหลาดใจ คือ ตุ๊กแกไร้หางจะมีความสามารถในการวิ่งหนีน้อยลงและเคลื่อนที่ได้เพียงระยะสั้นๆ Fleming คาดว่าลักษณะนี้น่าจะขึ้นกับจิ้งจกแต่ละสายพันธุ์ และพบว่าระยะทางที่ตุ๊กแกไร้หางเคลื่อนที่ลดลง 19% และเชื่อว่าตุ๊กแกอาศัยไขมันที่กักเก็บอยู่ที่ส่วนหางซึ่งมีประมาณ 8.7% ของมวลร่างกายเป็นพลังงานในการเคลื่อนที่
เมื่อขาดหางไป ตุ๊กแกจะขาดกรดไขมันในกระแสเลือดซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ การที่ขาดพลังงานที่กักเก็บไว้ที่ส่วนหางนี้ทำให้พวกมันเคลื่อนที่ช้าลง
อย่างไรก็ตาม Fleming เชื่อว่าต้องอาศัยการทดลองอื่นมายืนยันสมมติฐานนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ การศึกษาต่อไปจะเป็นการศึกษาในพื้นที่จริงว่าตุ๊กแกขาดหางจะเคลื่อนที่หนีผู้ล่าได้เร็วขนาดไหน และต้องใช้เวลาเพียงใดในการงอกหางใหม่มาทดแทน
พบว่าตุ๊กแกที่ขาดหางจะมีความระแวดระวังมากขึ้น พวกมันรับรู้ว่าเกิดการเปลี่ยนเเปลงขึ้นกับร่างกายและรับรู้ว่าเป้นสภาวะที่เปราะบาง ซึ่งล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมของมัน
ที่มา : www.vicharkaran.co/vnews/152767
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น